Flowers

Just another WordPress.com weblog

หน้าวัว…ไม้ตัดดอกอนาคตไกล October 22, 2006

Filed under: ดอกหน้าวัว — flowerslover @ 2:20 pm
หน้าวัว…ไม้ตัดดอกอนาคตไกล


หน้าวัว…ไม้ตัดดอกอนาคตไกล

          หน้าวัวเป็นไม้ดอกเมืองอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ 
ปัจจุบันการปลูกหน้าวัวในประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น  มีการปรับปรุงพันธ์ใน
ประเทศ และมีการนำพันธ์ใหม่ๆ  เข้ามาจากต่างประเทศ ทำให้เกิดความหลากหลายในด้านรูปแบบ
สีสัน และขนาดดอกจึงทำให้ตลาดมีความต้อง
การ
มากขึ้น 
แต่การผลิตดอกคุณภาพดีในประเทศไทย  ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดจึงทำให้ราคาของหน้าวัวเป็นที่ดึงดูดใจเป็นอย่าง
มาก เพราะดอกที่มีคุณภาพและมาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด  อาจจะได้ราคาถึงดอกละ
15-30 บาทการปลูกดอกหน้าวัวเป็นอีกทางเลือก
หนึ่งสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอก
เพราะสามารถปลูกได้ทั่วประเทศ  ถ้ามีระบบการจัดการภายในโรงเรือนที่ดี
  นอกจากการปลูกก็เป็นวัสดุปลูก
ก็เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
ปัจจุบันนี้หน้าวัวสามารถทำรายได้จากการปลูกเลี้ยงให้แก่เกษตรกรได้เกือบหนี่งล้านบาทต่อปี  
ในตลาดโลกถือ
ว่าหน้าวัวเป็นไม้ดอกที่ทำรายได้เป็นที่สองกรองจากกล้วยไม้
จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นว่าหน้าวัวเป็นไม้ดอกที่ยังมีอนาคตอีกไกล
รู้จักกับหน้าวัว
          หน้าวัว
(Anthurium andraeanum)  จัดเป็ไม้เศษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง
 เป็นที่นิยมทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ    ปัจจุบันมี
พันธุ์ปลูกมากมาย เช่น พันธุ์ดวงสมร ขายนายหวาน ผกามาศ หน้าควาย เปลวเทียน
จักรพรรดิ ซึ่งซึ่งมีอยู่เดิม   นอกจอกนี้ยังมีพันธุ์ปลูกผสมภาย
ในประเทศและที่มีการนำเข้า เช่น พันธุ์ทรอปิคอล มิโดริ แฟนตาเชีย เลดี้เจน
เป็นต้น หน้าวัวเป็นพืชที่ปลูกง่ายออกดอกตลอดทั้งปี   สีสันมีหลาก
หลายที่เหมาะสมในการผลิต
          หน้าวัว 
เป็นไม้ตัดดอกซึ่งมีลักษณะพิเศษดีกว่าไม้ดอกอื่นหลายอย่าง  ดอกบานได้นานมีอายุการใชงานได้หลายวัน   และสีสดสวย
อายุยืน
นานความนิยมใช้ดอกหน้าวัวเป็นไม้ประดับในประเทศไทย แม้จะยังไม่แพร่หลายแต่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นโดยลำดับ
   ตลอดจนเป็นพืชที่มีแนว
โน้มจะส่งออกไปขายต่างประเทศได้ เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส
เป็นต้น
          ไม้ตัดดอกกลุ่มนี้นั้น
ปัจจุบันมี 2 ชนิด ที่สำคัญ คือ หน้าวัว (Anturium andraeanum Hort) และเปลียวเทียน
(Anthurium hybrid)  โดยหน้าวัว
นั้นมีลักษณะจานรองดอกรูปหัวใจ ซึ่งมีร่องน้ำตาเด่นชัด นอกจากนี้ ปลีดอกหน้าวัวยังมักจะทำมุมกับแนวก้านดอกค่อนข้างมาก
สำหรับเปลวเทียน
มีจานรองดอกซึ่งไม่ร่องน้ำตาที่เด่นชัด ทั้งนื้ปลีดอกก็ตั้งขึ้นเป็นแนวเกือบตรงต่อจากก้านดอก
ทำให้จานรองดอกโอบปลีไว้พองาม
ข้อมูลสำหรับผู้สนใจการปลูก
          หน้าวัวเป็นพืชที่ไม่ชอบแดดจัด
และลมโกรก ต้องการความชื้นสูง ต้องการแสง 20- 30% หรือร่มประมาณ 70 – 80%
  จำเป็นต้องปลูกในโรง
เรือนมีน้ำบริบูรณ์  วัสดุปลูกหน้าวัวควรเป็นวัสดุโปร่ง  อุ้มน้ำหรือเก็บความชื้นได้ดี
ยึดรากและลำต้นได้และการย่อยสลายหรือผุสลายช้า โดยทั่วๆ
ไปใช้อิฐมอญ ถ่าน กาบมะพร้าว หรือใบไม้ผุ ปุ๋ยคอก แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาวัสดุปลูกที่เหมาะสมหาได้ง่ายในท้องถิ่นทดแทน
        ก่อนปลูกหน้าวัว ต้องทำโรงเรือนที่คลุมหลังคาด้วยพลาสติก
พรางแสงหรือซาแลน (ตาข่ายช่วยพรางแสง) ขนาด 70%  2  ชั้น   เพื่อให้ภายใน
โรงเรือนมีความเข้มของแสงอยู่ประมาณ  20 – 25%  หรือวัสดุอื่นๆที่ทำได้
ง่ายและเหมาะสมในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ทางมะพร้าว ในกรณีนี้ต้นทุนจะ
ต่ำ แต่อายุการใช้งานสั้น การดูแลจะเพิ่มมากขึ้น
        วัสดุสำหรับปลูกหน้าวัวลงแปลง
ประกอบด้วย
        ชั้นล่างสุด ใช้ทรายหยาบ
หนาประมาณ 3 นิ้ว
        ชั้นที่สอง ใช้อิฐทุบ
ทุบให้ได้ขนาด 1 – 2 นิ้ว ใส่ในแปลง 2 – 3 นิ้ว
        ชั้นที่สาม ใช้วัสดุปลูกหน้า
2 นิ้ว
        วัสดุปลูก
        1. เศษไม้บด หรือใบจามจุรี
หรือขี้นเลื่อย ไม้เบญจพรรณ จำนวน 5 ส่วน
        2. ขุยมะพร้าว จำนวน
1 ส่วน
        3. ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก
จำนวน 1 ส่วน
        4. ปูนขาวเล็กน้อย (1
กระป๋องนม/ปริมาตรส่วนผสม 1 ลูกบาศก็เมตร)
        วัสดุปลูก ต้องปลูกหรือผสมกองไว้นานๆ
จนไม่มีความร้อนในกองวัสดุแล้วจึงนำวัสดุ มาโรยบนแปลง
        หมายเหต กำลังเปลี่ยนแปลงเป็นใช้ถ่านจากแกนซังข้าวโพดแทนวัสดุทั้งหมด
        วิธีการปลูกหน้าวัว
        ขนาดแปลงกว้างประมาณ
 1.70  เมตร  กั้นขอบแปลงสูงประมาณ 30 ซ.ม.  นำต้นหน้าวัวลงปลูก  ระยะระหว่างต้น
ระหว่างแถว 25 – 30 X 25 –
30 ซ.ม.  ปลูกแบบสับหว่าง 1 แปลง สามารถปลูกได้ 4 แถว
 การปลูกต้องปลูกโดยให้โคนต้นชิดเครื่องปลูก   และให้รากแผ่กระจายบนเครื่องปลูก
ถ้าเป็นต้นพันธุ์ที่โต
 ก่อนปลูกต้นหน้าวัวลงแปลงต้องใช้ลวดขึงแปลงตามยาวก่อนแล้ว   จึงปลูกต้นหน้าวัวปลูกการปลูกหน้าวัวอย่าให้วัสดุปลูกทับ

ถมยอดหน้าวัว เพราะจะทำให้ต้นหน้าวัวเน่าตายได้
แล้วยึดต้นหน้าวัวติดกับลวดที่ขึงไว้เพื่อให้ต้นหน้าวัวล้มหลังจากนำเศษกิ่งไม้ขนาด
3 – 4 นิ้ว
ตัดเป็นท่อนขนาดกว้างของแปลงปลูกใส่ไว้ระหว่างแถวปลูกต้นหน้าวัวเพื่อให้รากเกาะยึด
        การปลูกในกระถาง
        ใช้กระถางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
3 – 12 นิ้ว  ขึ้นอยู่กับขนาดต้นที่แยกปลูกใส่วัสดุปลูกลงในกระถางประมาณ
 1  ใน 3 ส่วน วางต้นหน้าวัวลง
บนวัสดุปลูก แผ่รากให้กระจายแล้วเติมเครื่องปลูกให้ระดับต่ำกว่าปลายยอด
ประมาณ 2 ซ.ม. หรือเต็มกระถาง
        การให้น้ำ
        ควรให้น้ำระบบสปริงเกลอร์
 หรือระบบน้ำเหวี่ยงเพื่อช่วยรักษาระดับความชื้นในโรงเรือนให้สม่ำเสมอ   
ปกติจะให้น้ำวันละ 2 ครั้ง ซึ่งจะใช้
ครั้งละ 10 – 15 นาที ถ้าอากาศมีสภาพแห้ง  อุณหภูมิสูงเกิน 30 องศาเซลเซียส
ควรให้น้ำทันที
        การให้ปุ๋ย
        โดยทั่วไปจะให้ปุ๋ยผสมเอง
คือปุ๋ยสูตร 10 -10-30 และหว่านกระดูกป่นเล็กน้อย 2-3 เดือน /ครั้ง อาจจะเสริมด้วยปุ๋ยทางใบเล็กน้อย
 หรืออาจ
แบ่งการให้ปุ๋ย ดังนี้
        – ควรให้ปุ๋ยสุตรเสมอ 15-15
-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 1 ช้อนชา/ต้น/เดือน
        – ปุ๋ยละลายช้าสูตรเสมอ 3
– 6 เดือน
        – ปุ๋ยเกล็ดละลายสูตร 15-30-15
หรือ 16-21-27 หรือ 13-13-20 อัตรา 20-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเสริมให้ทุก
15 – 20 วัน
        การตัดแต่ง
        การตัดใบ เพื่อให้ใบได้รับแสงเพียงพอทั่วทุกต้น
ควรตัดใบล่างออก 1   ใบทุกครั้งเมื่อตัดออก ไว้ใบให้ติดต้นประมาณ
3-4 ใบ ไม่ควรตัดใบ
ที่ห่อก้านดอก เพราะจะทำให้ดอกเหี่ยว นอกจากนี้ควรตัดใบทีเป็นโรคทิ้งด้วย
         ศัตรูและการป้องกันกำจัด


การขยายพันธุ์หน้าวัว

การขยายพันธุ์หน้าวัวเพื่อเพิ่มปริมาณนั้นแบ่งออก 2 วัตถุประสงค์ด้วยกัน
คือ
           1. การขยายพันธุ์หน้าวัว
เพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์ดี
วิธีนี้ขยายพันธุ์ให้ได้ต้นพันธุ์ใหม่ มีลักษณะเหมือนต้นเดิมทุกประการ
  มี่หลายวิธี
ด้วยกันคือ
           การตัดยอด
โดยการตัดยอดต้นที่มีความสูงเกินความต้องการตัดให้มีใบติดประมาณ 4 – 5
ใบ นำไปปักชำในที่ที่มีความชื้นสูง เมื่อรากงอก
แล้วจึงย้ายไปไว้ในที่โรงเรือนตามปกติ
           การแตกหน่อ
โดยการแยกหน่อทีเกิดจากต้นแม่เดิมที่มีขนาด  3 – 6 นิ้ว ไปปักชำในทีมีความชื้นเมื่อตั้งตัวดีแล้วจึงนำไปปลูกในโรงเรือน
ปลูกเลี้ยงตามปกติต่อไป วิธีนี้นิยมใช้กับพันธุ์ที่แตกกอง่าย หรือพันธุ์ที่เหมาะที่เป็นไม่กระถาง

           การปักชำ
หรือการตัดต้นชำ นิยมใช้กับหน้าวัวที่มีอายุมากแล้วนำมาตัดเป็นท่อนๆ ใช้มีข้อ
3 – 4 ข้อ  วางนอนหรือทำมุมกับวัสดุปลูก 30-40
องศา โดยใช้วัสดุปลูกที่มีความชื้นสูง ประมาณ 2 – 3 เดือน
จะได้ต้นหน้าวัวต้นใหม่งอกออกมาจากข้อของลำต้นเดิม
ก็จะทำการแยกไปปลูกโดยปฏิ บัติเช่นเดียวกับการ แยกหน่อ
สำหรับท่อนพันธุ์เดิมถ้าทิ้งไว้ต่อไปจะทำให้ได้หน่อชุดใหม่เกิดมาอีก   
ถ้านำไปปลูกทั้งท่อนพันธุ์เดิมก็สามารถพัฒ
นาเป็นส่วนหนึ่งของลำต้นใหม่ได้ต่อไป
           การเพาะเนื้อเยื่อ
เป็นวิธีต้องปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ เป็นการขยายต้นพันธุ์ดีในเชิงการค้า
ซึ่งต้องการต้นพันธุ์ดีในปริมาณมากๆ ซึ่งมีขั้น
ตอนต่างๆ คือ
           1.
คัดเลือกต้นที่มีลักษณะเหมาะที่จะทำพันธุ์การค้า ไม้ตัดดอก หรือไม้กระถาง
           2.
นำใบอ่อนมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปเลี้ยงในอาหารแข็งที่จัดเตรียมไว้

           3.
กระตุ้นให้เกิด Callus และทำการขยายก้อน Callus จนได้ปริมาณที่พอใจ
           4.
กระตุ้นให้เกิดต้นอ่อนและรากต่อไป แล้วแยกต้นกล้าเลี้ยงในอาหารแช็งพร้อมทั้งตัดยอดขยายเพิ่มปริมาณไปเรื่อยๆจนได้ปริมาณตาม
ความต้องการ
           5.
เมื่อได้ปริมาณพอแล้วจึงนำออกชำในวัสดุที่มีความชื้นสูงนอกห้องปฏิบัติการ
เมื่อแข็งแรงดีแล้วให้ย้ายไปปลูกเลี้ยงในโรงเรือนปกติต่อ
ไป
           2.การขยายพันธุ์หน้าวัวเพื่อปรับปรุงพันธุ์
วิธีนี้จะทำการเพิ่มจำนวนหน้าวัวโดยใช้วิธีผสม พันธุ์และเพาะเมล็ดให้ได้ต้นใหม่ที่มีความ
แตกต่างจากต้นเดิม สามารถทำได้ดังนี้
           วิธีสร้างลูกผสมหน้าวัวสายพันธุ์ใหม่

           การพัฒนาพันธุ์หน้าวัวพันธุ์การค้าปัจจุบันเป็นพันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการผสมพันธุ์ทั้งสิ้น
   ทั้งพันธุ์ที่มีอยู่เดิม และพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่าง
ประเทศ ถึงแม้จะมีหลากหลายพันธุ์ก็ตาม แต่ก็ยัง จำเป็นที่ต้องสร้างพันธุ์ใหม่ขึ้นมาทดแทนของเดิม
  ซึ่งอาจจะมีลักษณะที่ล้าสมัยลงไป ทั้งนี้เพราะ
การใช้ดอกหน้าวัวต้องเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นลักษณะแฟชั่น เช่นเดียวกับไม้ดอกกับชนิดอื่นจะ
ต้องมีการสร้างพันธุ์ที่มีลักษณะแปลกใหม่ตรง
กับความต้องการของผู้ใช้อยู่เสมอ ซึ่งวิธีการสร้างลูกผสมใหม่ที่นิยมกัน
คือการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเท่านั้น เพราะลูกผสมที่ได้จะมีความแปรปรวน
ทาง กรรมพันธุ์สูง ทำให้มีความแตกต่างมากมาย    ซึ่งจะนำมาใช้เป็นฐานพันธุกรรมในการ
พัฒนาพันธุ์ต่อไป ตลอดจนถ้าได้ต้นที่มีลักษณะดีเด่น
เป็นที่น่าพอใจก็ใช้เป็นต้นแม่พันธุ์โดยวิธี เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อใช้ปลูกในเชิงธุรกิจต่อไปได้

           การสร้างลูกผสมหน้าวัวสายพันธุ์ใหม่มีวิธีการดังนี้
          1. การผสมเปิด
 เป็นการผสมพันธุ์โดยการนำต้นแม่พันธุ์ดี    ซึ่งมีลักษณะที่ต้องการมาผสม
  กับเกสรต้นพ่อพันธุ์ซึ่งเก็บมาจากหลายๆ สาย
พันธุ์ ทั้งนี้เพื่อจะให้มีการกระจายตัวของพันธุกรรมมาก
เพื่อให้ลักษณะบางลักษณะซึ่งอาจซ่อนอยู่ในต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มีโอกาสแสดงได้มากเมื่อ
ได้ต้นลูกผสม แล้วจึงคัดไปขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป
           ข้อดี
           สามารถได้ลูกผสมพันธุ์ใหม่จำนวนมาก
  และมากมายหลายชนิดในลูกชุดเดียวกัน       ลักษณะแปลกใหม่ซึ่งซ่อนอยู่มีโอกาสแสดงออกมา
สามารถนำไปใช้ปรับปรุงพันธุ์ได้ เป็นอย่างดี
            ข้อเสีย
           ไม่สามารถสืบประวัติต้นพ่อพันธุ์ได้โดยง่าย
อย่างไรก็ตามข้อเสียอันนี้ไม่ใช่เป็นสิ่งเสียหายสำหรับหน้าวัวซึ่งมีความต้องการให้เกิดลักษณะ
แปลกใหม่อยู่เสมอ  เป็นการใช้งานในลักษณะแฟชั่น ซึ่งต้องการความหลากหลายของลักษณะหลายๆ
อย่างมาอยู่ในต้นเดียวกันอย่างพอเหมาะพอ
ดี
          2. การผสมโดยคัดเลือกต้นแม่และต้นพ่อพันธุ์
เป็นการผสมโดยนำต้นแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์ซึ่งถูกคัดเลือกมาผสมพันธุ์กัน  ทั้งนี้
  โดยคาดหวัง
ว่าจะได้ลักษณะที่ดีเด่น ทั้งจากต้นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มาอยู่ในต้นเดียวกันที่เป็นลูกผสมต้นใหม่แล้วจึงคัดเลือกเพื่อไปใช้เป็นต้นแม่พันธุ์ขยาย
พันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อต่อไป
          ข้อดี
          สามารถอนุมานโดยคร่าว
ๆ ได้ว่าลูกผสมต้นใหม่น่าจะมีลักษณะอย่างไร
          ข้อเสีย
          ขาดความหลากหลายของบางลักษณะที่มีอยู่อีกจากหลายต้นซึ่งก็จะเป็นลักษณะที่
ต้องการเช่นกัน

วิธีดำเนินการ

          1. คัดเลือกต้นพ่อแม่พันธุ์
ทำการคัดเลือกต้นพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดี จากแหล่งต่างๆ มาปลูกรักษาไว้เพื่อใช้สำหรับเป็นต้นพ่อแม่พันธุ์
ซึ่ง
แต่ละพันธุ์แต่ละต้นจะมีลักษณะดี   และด้อยแตกต่างกันไป
   บางต้นสีดีถูกใจแต่ลักษณะดอกไม่สวย  ตรงกันข้ามกับบางต้นลักษณะดอกสวย
แต่ ลักษณะการเจริญเติบโตไม่ดี หรือสีไม่สวยถูกใจเหล่านี้เป็นต้น ควรจะมีการเก็บต้นพ่อ
ต้นแม่ไว้หลายๆ ลักษณะ เพื่อคัดเลือกลักษณะผสมกันชด
เชยกันในการสร้างลูกผสมต่อไป
          ตัวอย่างพ่อแม่พันธุ์ต่างประเทศที่สามารถรวบรวมได้
 เช่น  ทรอปิคอล  เลดี้เจน ฟลอริด้า แคร์ ชมพูฮออลแลนด์ล
ตัวอย่างพ่อแม่พันธุ์ไทย
ทั่ว ๆ ไป เช่น แคระภูเก็ต ดวงสมร ขาวนายหวาน ผกามาศ
          2. เก็บเกสรตัวผู้จากต้นที่ใช้เป็นต้นพ่อ
โดยจากปลีดอกที่เปลี่ยนสีหมดแล้วประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ จะเห็นละอองเกสรตัวผู้เป็นผงสีครีมหรือ
เหลืองติดอยู่ที่ยอดของดอกตัวผู้ ทำการรวบรวมโดยใช้พู่กันปัดลงในภาชนะที่ใช้รวบรวมได้ปริมาณพอแก่ความต้องการแล้ว  
จึงนำไปผสมต่อไป
          3. นำละอองเกสรที่ได้ป้ายลงบนยอดเกสรตัวเมีย    ต้นแม่ที่พร้อมผสมโดยใช้พู่กันชุบน้ำ
 แล้วแตะที่ละอองเกสรตัวผู้นำมาป้าย ลงบนยอด
เกสรตัวเมียที่พร้อมจะผสมโดยสังเกต  ลักษณะการเปลี่ยนสีที่ปลี   บริเวณที่ปลีดอกเปลี่ยนสีคือ
ยอดเกสรตัวเมียซึ่งพร้อมผสมเมื่อป้ายตัว ผู้ลงบน
ยอดเกสรตัวเมียแล้วถือว่าเสร็จสิ้นการผสมพันธุ์ ควรจะหาถุงพลาสติกหรือถุงกระดาษไขคลุมไว้
7 – 10 วันเพื่อป้องกันการย้ายละอองเกสรจากต้น
ที่ไม่ต้องการผสมอีก ในกรณีที่ต้องการผสมแบบรู้พ่อ-แม
          4. หลังจากนั้นประมาณ
3 – 4 เดือนเมล็ดจะแก่ พร้อมนำไปเพาะเมื่อเมล็ดแก่เต็มที่จัด การล้างทำความสะอาดโดยเอาเยื่อหุ้มเมล็ดออกนำไป
เพาะต่อ
          5. นำไปเพาะลงบนวัสดุเพาะซึ่งใช้อิฐทุบแช่น้ำ
การเพาะต้องเตรียมอิฐทุบขนาด1/2-1นิ้ว แช่น้ำไว้ 1 – 24 ชั่วโมง    นำอิฐทุบใส่ลงในกระถาง
ดินเผาประมาณ 1/3 ของกระถาง จากนั้นนำเมล็ดหน้าวัวที่ได้หว่านลงไปบนอิฐทุบนั้นๆ
พยายามกระจายทั่วๆพื้นที่ผิวบนวัสดุเพาะ
          6. หลังจากนั้นใส่ลงในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ภายในหล่อน้ำประมาณ
1 ซม. ปิดปากถุง นำไปเก็บไว้ในร่มรำไรประมาณ 3-4 เดือน
          7. จะได้ต้นกล้าหน้าวัว
ขนาด 1 – 2 นำไปปลูกในกระบะชำซึ่งใช้วัสดุเศษซากพืช หรือ ปุ๋ยหมัก เป็นเครื่องปลูก

          8. เมื่อต้นกล้าอยู่ในกระบะชำอีกระยะเวลา
3 – 4 เดือน จะมีขนาด 4 – 5 นิ้วย้ายลงไป ปลูกในกระถางขนาดเล็ก (3 นิ้ว)
เพื่อเลี้ยงให้แข็งแรง
          9. เมื่อต้นกล้าแข็งแรงดีแล้ว
จึงย้ายลงกระถางใหญ่ขึ้น หรือปลูกลงแปลงเพื่อใช้ในการคัดเลือกหรือตัดดอกต่อไป

การตัดดอกและการปฏิบัติหลังการตัดออก

          การตัดออก 
เริ่มตัดเมื่อปลีเริ่มเป็นสีขาว  จากโคนดอกประมาณครึ่งหนึ่งหรือประมาณ
2 ใน 3 ของปลีดอกเหลือติดกับต้นประมาณ 4-5  ซม.
เพื่อไม่ให้แผลติดเชื้อง่าย    ดอกที่ตัดแล้วควรจุ่มปลายก้านดอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อฟายแซน
-20 อัตรา 5 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตรควรแช่ก้านในน้ำสะอาด
และวางในที่ร่ม
          การขนส่ง ระยะใกล้ๆ
ภาชนะที่บรรจุน้ำสะอาด แยกขนาดดอกมัดรวมกัน โดยไม่ให้จานรองดอกเบียดกัน
แล้วจัดใส่ภาชนะบรรจุน้ำสะอาด
สำหรับการขนส่งระยะไกล  จะบรรจุในกล่องกระดาษซึ่งมีถาดกระดาษสำหรับยึดจานรองดอก
  

ประมาณการต้นทุนการปลูกเลี้ยงหน้าวัว
         ขนาดโรงเรือน 20 x 40
เมตร สร้างแปลงปลูกในโรงเรือนขนาด 1.7 x 20 เมตร เว้นระยะทางเดิน 80 ซม.จำนวน
6 แปลงปลูกได้ 5,280 ต้น 
( ระยะ ปลูก 30 x 30 ซม.) ประมาณการค่าวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างโรงเรือน
แปลงปลูก และระบบน้ำ ดังนี้ ่
          1. เสาโรงเรือนใช้เสาปูนขนาด
4 X 4 นิ้ว ยาง3เมตร ระยะห่าง ระหว่างเสา 5 เมตร ใช้เสาจำนวน45ต้น ต้นละ
200 บาท เป็นเงิน 9,00 บาท
          2. ลวดสลิงขนาด
11/2 หุน ขึงทำโคลงหลังคา และยึดเสาใช้จำนวน 600 เมตร ราคา 7,200 บาท
          3. ตาข่ายพรางแสง
ขนาด 70% ยาวม้วนละ 100 เมตร ใช้จำนวน 3 ม้วน 4,500 บาท
          4. อิฐบล็อกกั้นขอบแปลง
1 ชั้น แปลงละ 60 ก้อน ใช้จำนวน 960 ก้อน ราคา 3,400 บาท
          5. ลวดอาบสังกะสีขึงพยุงต้นหน้าวัวในแปลง
ใช้จำนวน 1,400 เมตร ราคา 1,200 บาท
          6. ท่อ PE ขนาด
20 มม. วางในแปลง ใช้จำนวน 320 เมตร ราคา 3,200 บาท
          7. ชุดให้น้ำแบบมินิสปริงเกลอร์
ติดตั้งในแปลง ใช้จำนวน 192 ชุด ราคา 9,600 บาท
          8. อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ
เช่น ท่อ PVC ข้อต่อ ข้องอ เทปพันเกลียว ฯลฯ ราคา10,000บาท
          รวมเป็นเงิน
48,100 บาท
          ราคาวัสดุปลูก

          1. ขี้เลื่อย
ราคา 500 บาท
          2. ขุยมะพร้าว
ราคา 300 บาท
          3. ปุ๋ยคอก
ราคา 150 บาท
          4. ปูนขาว
ราคา 50 บาท
          ราคาต้นพันธ์

          ต้นหน้าวัวพันธุ์แท้
ต้นสูง 20 -30 ซม. ต้นละ 60 บาท โรงเรือน ขนาด 20 X 40 เมตร ปลูกได้ 5,280
ต้น ราคา 316,800 บาท

          สรุป
          ประมาณการลงทุน
366,000 บาท ต่อพื้นที่ปลูก 0.5 ไร่ เฉลี่ยตาราง เมตรละ 457 บาท

          ท่านทีสนใจการปลูกหน้าวัว
และการขยายพันธุ์หน้าวัว ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตลำปาง
หรือสถานี
ทดลองพืชสวนห้างฉัตรเดิม อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190 โทร. 0-5422-0438

 

                                                                                                                               ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตลำปาง
                                                                                                                               ผู้เขียน

powered by performancing firefox

 

One Response to “หน้าวัว…ไม้ตัดดอกอนาคตไกล”

  1. Pramud Aketa Says:

    ดีมากครับ


Leave a reply to Pramud Aketa Cancel reply