Flowers

Just another WordPress.com weblog

ภาพรวม : ดอกหน้าวัว October 14, 2006

Filed under: ดอกหน้าวัว — flowerslover @ 1:39 pm

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ

หน้าวัวจัดเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าไม้ตัดดอกชนิดอื่น
ๆ ทั้งนี้เพราะว่าดอกมีสีสันสวยงาม สะดุดตา ก้านดอกยาว
และแข็งแรงมีอายุการใช้งานนานกว่า 10 วัน เป็นที่นิยมของตลาด ต่างประเทศ
จากการสำรวจพบว่าหน้าวัวเป็นไม้ตัดดอกที่ทำรายได้สูงสุด คือ 140,000
บาท/ไร่/ปี รองลงมาคือ เบญจมาศ 72,924 ดอก/ไร่ จะขายกันประมาณดอกละ 2 บาท
ซึ่งจะเห็นว่าหน้าวัวเป็นไม้ตัดดอก อีกชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ สูงทีเดียว
ถึงปีแรกจะเสียค่าต้นพันธุ์สูงแต่ในปีต่อไปจะลดลง
จึงทำให้การผลิตหน้าวัวคุ้มค่าต่อการลงทุน

แต่อย่างไรก็ตามยังสามารถลดต้นทุนการผลิตเกี่ยวกับโรงเรือนได้ในบางพื้นที่
เช่น การปลูกแซมในสวนยางพารา ในภาคใต้ หรือแซมในป่าสนสองใบ
ในจังหวัดภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงราย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ดอกหน้าวัวเกิดจากตาเหนือก้านใบประกอบด้วยปลี
(ช่อดอก) และจานรองดอก ซึ่งมีลักษณะคล้ายใบติดอยู่ที่โคนปลี
แต่มีสีสันสวยงามสะดุดตา จึงทำให้คิดว่าจานรองดอกคือดอกของหน้าวัว
ลักษณะของจาน
รองดอกมักมีส่วนยาวมากกว่าส่วนกว้างและจานรองดอกจะมีขนาดเล็กใหญ่ขึ้นกับขนาดของต้น
ชนิดของพันธุ์และการเลี้ยงดู นอกจากความสวยงามของจานรองดอกด้วย
ซึ่งเรียกว่า “ร่องน้ำตา” ในเมืองไทย มักนิยมร่องน้ำตาลึก ๆ เช่น
พันธุ์ดวงสมร แต่ในต่างประเทศมักต้องการจานรองดอกที่ค่อนข้างเรียบ
จานรองดอกที่ดีควรมีลักษณะเป็นรูปหัวใจและได้สัดส่วนกันจากโคนมาถึงปลาย
ด้านซ้ายและขวา จะต้อง เท่ากันโดยไม่มีรอยแหว่งเว้าของด้านใดด้านหนึ่ง
ความหนาของจานรองดอกไม่บางเกินไป ในเมืองไทยนิยมให้โคนของจานรองดอกตั้ง
หรือที่เรียกว่า “หูแนบ” แต่ในต่างประเทศไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ

ส่วนช่อดอกของหน้าวัวหรือที่เรียกว่า
ปลี คือ ส่วนที่เป็นดอกจริง ซึ่งประกอบด้วย ก้านช่อ
ซึ่งมีดอกย่อยเล็กเรียงอัดแน่นอยู่บนปลี ดอกย่อยนี้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน
ดอกที่อยู่บนก้านดอกนี้จะมีสีต่าง ๆ
เมื่อจานรองดอกคลี่ปลีออกจะมีสีเหลืองอ่อน หรือสีปนแดง แล้วแต่ชนิพันธุ์
เมื่อจานรองดอกบานเต็มที่ ดอกที่อยู่โคนปลีจะเปลี่ยนเป็นสีขาว
ไล่ไปปลายปลี ลักษณะเช่นนี้ แสดงว่า ดอกบาน
และเมื่อตุ่มยอดเกสรตัวเมียเริ่มมีน้ำเหนียว ๆ
แสดงว่าดอกนั้นพร้อมที่จะผสมเกสรตัวผู้จะบานภายหลังเกสรตัวเมีย
ดังนั้นหน้าวัวส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีโอกาสผสมตัวเอง
ยกเว้นบางพันธุ์เท่านั้น นอกจาก นี้เกสรตัวผู้ของหน้าวัวลูกผสมส่วนใหญ่
จะมีเกสรตัวผู้ฟุ้งเมื่ออุณหภูมิเย็น ดังนั้นโอกาสที่ผสมพันธุ์ในกรุงเทพฯ
จึงมีช่วงระยะเวลาจำกัด ซึ่งโดยมากมักจะผสมในช่วงฤดูหนาว

พันธุ์

หน้าวัวมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ และแต่ละชนิดก็มีหลายพันธุ์ คือ

1. Anthurium andraeanum ส่วนใหญ่ใช้ตัดดอก สามารถแบ่งได้ตามสี 4 สี คือ


พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีแดง ในเมืองไทยที่พบมีพันธุ์จักรพรรดิ ดวงสมร
กรุงธน นครธน กษัตริ์ศึกธนบุรี บางกล จอมพล กรุงเทพฯ แดงนุกูล ดาราไทย ฯลฯ
แต่พันธุ์ที่นิยมเป็นไม้ตัดดอกของเมืองไทย คือ ดวงสมร
ลักษณะของพันธุ์นี้จะมีจานรองดอกเป็นสีแดงเข้ม เป็นมันสวยงาม เป็นรูปหัวใจ
หูชิดเท่ากันสองด้าน ร่องน้ำตาย่นลึก ปลีมีสีเหลือง เมื่อแก่จะมีสีขาว

พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีส้ม ในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์ผกามาศ ผกาทอง ตราทอง
สุหรานากง โพธิ์ทอง ฯลฯ พันธุ์สีส้มนี้ พันธุ์ที่เป็นไม้ประกวด คือ
สุหรานากง และโพธิ์ทอง ส่วนพันธุ์ที่น่าสนใจ คือ ดาราทอง ซึ่งมี หน่อมาก
เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้กระถาง
– พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์ศรีสง่า ศรียาตรา จักรเพชร ฯลฯ
– พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ขาวนายหวาน ขาวพระสังขศาสตร์ ขาวคุณหนู

พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีอื่น ๆ มักไม่ค่อยพบเป็นไม้ตัดดอก เพราะมีจำนวนปลูกน้อยต้น ราคาค่อนข้างแพง

2. Anthurium schzerianum พันธุ์นี้มีจานรองดอกสีแตกต่างกัน แต่ไม่นิยมปลูกเลี้ยงในเมืองไทย เพราะต้องการความเย็นและความชื้นสูงกว่า anthurium andraeanum พันธุ์นี้ปลีงอ หรือเป็นเกลียวปลูกเป็นไม้ตัดดอก และไม้กระถาง

ในสหรัฐอเมริกา
นิยมใช้หน้าวัวพันธุ์สีแดงและสีแดงอ่อนมาก คือประมาณ 80% ส่วน 20%
เป็นสีชมพู และสีขาว ในประเทศฝรั่งเศสและสวิสเซอร์แลนด์ นิยมสีแดงและสีส้ม
ปัจจุบันได้มีผู้พัฒนาวิธีการและเทคนิคใหม่ ๆ ในการปรับปรุงพันธุ์
เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีลักษณะดี และแปลกออกไป ด้วยวิธีการที่รวดเร็ว
โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับการอาบรังสี
ให้หน้าวัสเกิดการกลายพันธุ์มากขึ้น

การขยายพันธุ์

1. การตัดยอด
การขยายพันธุ์วิธีนี้เป็นที่นิยมกันมาก
โดยทำเมื่อต้นสูงขึ้นจากระดับเครื่องปลูกและมีราก 2-3 ราก
วิธีปฏิบัติควรทำการขยายพันธุ์แบบนี้เมื่อยอดที่จะถูกตัดนั้นมีรากยาวพอสมควร
เพื่อให้ยอดที่ถูกตัด นั้นมีรายการพอสมควร
เพื่อให้ยอดที่ถูกตัดเมื่อนำไปปลูก
ตั้งตัวและเจริญเติบโตเร็วไม่ชะงักการเจริญเติบโตนานเกินไป
เพราะรากสามารถยึดเกาะติดกับเครื่องปลูกเพื่อพยุงลำต้น
และหาอาหารให้กับหน้าวัวได้เลย
การตัดแบบนี้ควรเหลือใบไว้ที่ต้นตอเดิมประมาณ 1-2 ใบ เป็นอย่างน้อย
เพื่อให้ได้เกิดหน่อใหม่ได้เร็ว และมีหน่อสมบูรณ์
ถ้าตอไม่มีใบเหลืออยู่จะเกิดหน่อมาก แต่การเจริญเติบโตช้ามาก
การตัดยอดไปปลูกนี้ควร
ทายากันราที่รอยแผลที่ถูกตัดทั้งยอดและตอเพื่อป้องกันไม่ให้ราเข้าทำลายได้

มีผลการทดลองที่ภาควิชาพืชสวน
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ซึ่งทำการตัดยอดหน้าวัวโดยไม่มีรากติดกับยอดนำไปชำในเครื่องปลูกที่เก็บรักษาความชื้นมากและกระชังกับต้น
เช่น ใช้ขี้เถ้าแกลบหรือ ขี้เถ้าแกลบผสมกับทราย 1 : 1 เป็นต้น
ซึ่งเมื่อนำไปชำแล้วประมาณ 2 เดือน ยอดจะมีรากและสามารถนำไปปลูกต่อไปได้

2. การแยกหน่อ
หน้าวัวบางพันธุ์มีหน่อมาก เช่น พันธุ์ดาราทอง
หรือหน่อที่เกิดจากตอเดิมที่ถูกตัดยอดไป เมื่อหน่อเหล่านี้มีรากมาก
ก็ดึงหน่อนำไปปลูกขยายพันธุ์ต่อไปได้เช่นกัน

3. การตัดต้นชำ
หน้าวัวบางพันธุ์ไม่ได้ขยายพันธุ์โดยการตัดยอดนานเข้าหน้าวัวจะเจริญเติบโตเรื่อย
ๆ ทำให้ลำต้นยาว หลังจากถูกตัดหน่อไปปลูกแล้ว ก็มีลำต้นเหลืออย่างมาก
ก็อาจจะขยายพันธุ์ได้อีก โดยการตัดต้น ที่ยาวนี้เป็นท่อน ๆ
แต่ละท่อนจะมีข้อประมาณ 2-3 ข้อ
นำท่อนพันธุ์ไปใช้ชำในทรายหรืออิฐทุบก้อนเล็ก ๆ ที่ขึ้นอยู่เสมอ
จะเกิดต้นใหม่ขึ้นมาตามข้อหรือปล้องนั้น เมื่อต้นมีรากก็แยกไปปลูกต่อไป

4.
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เป็นวิธีการที่สามารถผลิตหน้าวัวได้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาที่สั้น
แต่จะมีปัญหาอยู่คือการทำความสะอาดชิ้นส่วนของหน้าวัวทำได้ยาก
เพราะหน้าวัวเป็นพืชที่ชอบความชื้น
ฉะนั้นจึงทำให้มีทั้งเชื้อราและแบคทีเรียตามต้นพันธุ์มาก
แต่เมื่อได้เนื้อเยื่อที่ปลอดเชื้อและยังมีชีวิตอยู่แล้วก็ไม่มีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโตต่อไป
เมื่อมีต้นอ่อนเจริญเติบโตในหลอดอาหารและเมื่อโตเพียงพอก็ย้ายออกจาก
หลอดนำไปปลูกเลี้ยงในโรงเรือนที่ชื้นสม่ำเสมอในะระยนี้ต้องมีเวลาในการดูแลเอาใจใส่มิฉะนั้นต้นจะตายง่ายโดยเฉพาะถ้าขาดความชื้น

5.
การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้สำหรับการปรับปรุงพันธุ์เท่านั้น
เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่มีลักษณะดีกว่าพันธุ์เดิม
ในประเทศไทยปกติสภาพของกรุงเทพฯ การบานของเกสรตัวผู้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ
ซึ่งมักจะมีละอองเกสรเฉพาะ ช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะต้นพันธุ์ที่ดี
ส่วนพันธุ์ป่าโดยมากบานเกือบทั้งปี
แต่มีโอกาสที่หน้าวัวจะติดเมล็ดเองมีน้อย
เพราะเกสรตัวผู้และตัวเมียบานไม่พร้อมกัน โดยมากเกสรตัวเมียบานแล้ว
จึงมีละอองเกสรตัวผู้จะสังเกต เห็นละอองเกสรตัวผู้จะบานไล่จากโคนปลี
ไปหาปลายปีหน้าวัวมีน้ำเหนียวเป็นเงาเอามือแตะดูจะรู้สึกเหนียว ๆ
แสดงว่าเกสรตัวเมียพร้อมที่จะผสมแล้วจึงเอามือหรือพู่กันขึ้น ๆ
แตะบนละอองเกสรตัวผู้ มาป้ายบนยอดเกสร ตัวเมีย
ซึ่งจะบานไล่จากโคนไปด้านปลายปลีเช่นกัน
หลังจากผสมแล้วถ้าผสมติดจะสังเกตเห็นว่าปลีบวม เพราะรังไข่เจริญขึ้นเรื่อย
ๆ เป็นตุ่มและเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีเหลือง
และถ้าแก่เต็มที่ผลจะหลุดออกจากปลี ผลหนึ่งมีเมล็ด 1-3 เมล็ด
ระยะเวลาตั้งแต่ผสมจนถึงเมล็ดแก่ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
เมื่อเมล็ดแก่ก็นำมาเพาะต่อไป

การเพาะเมล็ดควรเตรียมวัสดุให้พร้อมคือ
อิฐละเอียดที่มีขนาด 0.3-0.6 เซนติเมตร ร่อนให้สะอาดแช่น้ำให้ชุ่มชื้น
นำใส่กระถางที่วางบนจานรองมีน้ำสะอาดต่อไป
นำเมล็ดที่ล้างเอาเมือกออกหมดแล้วโรยบนอิฐให้ทั่วใช้
กระจกปิดปากกระถางเพื่อรักษาความชื้น เมล็ดหน้าวัวจะงออภายใน 4-5 ใบ
ย้ายลงกระถางใหม่เตรียมอิฐที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้เครื่องปลูกโปร่งขึ้น

การเพาะเลี้ยงเมล็ดนี้จะเสียเวลารอเมล็ดแก่นาน
จึงมีการเพาะเลี้ยง embryo (embryo culture) คือเมื่อผสมติดแล้วประมาณ 2-3
เดือน นำเมล็ดผ่าเอา embryo
มาเลี้ยงในหลอดทำให้ได้ลูกผสมในระยะเวลาสั้นขึ้น
การเพาะเลี้ยงแบบนี้ได้ต้นโตเร็ว และได้จำนวนมากภายในเวลา 2 เดือน
ก็สามารถนำต้นออกมาเลี้ยงนอกหลอดทดลองได้แล้ว
แต่ต้องดูแลเป็นพิเศษเช่นเดียวกับต้นอ่อน


จัดทำโฮมเพจโดย : สำนักบริการคอมพิวเตอร์, 31 สิงหาคม 2547

ที่มา :http://www.ku.ac.th/e-magazine/september47/agri/flower.html

powered by performancing firefox

 

Leave a comment